เมนู

นอนเนื่องในสัตว์ทั้งหลายในอารมณ์ที่น่าปรารถนานี้เพราะอรรถว่ายังละไม่ได้.
เปรียบเหมือน เมื่อสัตว์จมลงในน้ำแล้ว น้ำเท่านั้น ย่อมมีข้างล่าง ข้างบนและ
โดยรอบ ชื่อฉันใด ชื่อว่าความเกิดขึ้นแห่งราคะในอารมณ์ที่น่าปรารถนาก็ฉัน
นั้นนั่นแหละ ย่อมมีแก่สัตว์ทั้งหลาย เพราะเป็นผู้เคยสั่งสมมาแล้วเป็นนิตย์.
ความเกิดขึ้นแห่งปฏิฆะในเพราะอารมณ์อันไม่น่าปรารถนา ก็เหมือนกัน. คำว่า
อิติ อิเมสุ ทฺวีสุ ธมฺเมสุ (แปลว่า ในธรรมทั้ง 2 นี้ ด้วยอาการอย่าง
นี้) ได้แก่ บุคคลมีกามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยเหล่านั้น มีอิฏฐารมณ์และอนิฏ-
ฐารมณ์ ด้วยอาการอย่างนี้. คำว่า อวิชชา อนุปติตา (แปลว่า อวิชชาตก
ไปแล้ว) ได้แก่ อวิชชาเป็นธรรมสัมปยุตด้วยกามราคะและปฏิฆะ จึงชื่อว่า
เป็นธรรมตกไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งการกระทำซึ่งอารมณ์. คำว่า ตเทกฏฺโฐ
(แปลว่า ตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกัน) ได้แก่ ชื่อว่าตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกันกับ
อวิชชานั้น ด้วยสามารถแห่งการตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกัน โดยความเป็นธรรม
ที่ประกอบด้วยอวิชชา. คำว่า มาโน จ ทิฏฺฐิ จ วิจิกิจฺฉา จ ได้แก่ มานะ
9 อย่าง ทิฏฐิ 62 อย่าง และวิจิกิจฉามีวัตถุ 8. ก็ในคำว่า ภวราคานุสัย นี้
บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสงเคราะห์ไว้ด้วยกามราคานุสัย
นั่นแหละ.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งจริต เป็นต้น


ในนิทเทสแห่งจริต ได้แก่ เจตนาอันเป็นปุญญาภิสังขาร 13
อปุญญาภิสังขาร 12 อเนญชาภิสังขาร 4. ในเจตนาเหล่านั้น กามาวจร
เป็นปริตตภูมิ (มีอารมณ์น้อย) นอกนี้เป็นมหาภูมิ (มีอารมณ์ใหญ่).
อีกอย่างหนึ่ง ในสังขารแม้ทั้ง 3 เหล่านั้น สังขารไร ๆ มีวิบากเล็ก
น้อย พึงทราบว่าเป็นปริตตภูมิ มีวิบากมากพึงทราบว่าเป็นมหาภูมิ ดังนี้.

ในนิทเทสแห่งอธิมุตติ (อัธยาศัย) ข้าพเจ้าได้ประกาศไว้แล้วในหนหลัง
นั่นแหละ.
ถามว่า ก็อธิมุตติ (อัธยาศัย) นี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ใน
หนหลังแล้ว เพราะเหตุไร จึงทรงถือเอาอีกเล่า.
ตอบว่า เพราะอธิมุตติ (อัธยาศัย) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือ
เอาโดยแยกออกจากหนหลัง ด้วยสามารถแห่งการแสดงญาณอันเป็นกำลัง.
อัธยาศัยในที่นี้ ทรงถือเอาเพื่อแสดงความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า
และอินทรีย์อ่อน.
ในนิทเทสแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลี คือกิเลสมากนั้น คำว่า อุสฺสท-
คตานิ
(แปลว่า เพิ่มพูนให้มากแล้ว) ได้แก่ ถึงความไพบูลย์. เมื่อว่าด้วย
สามารถแห่งลำดับการประหาณแล้ว ในนิทเทสนี้ มิได้ทรงอธิบายไปตามลำดับ.
คำว่า อนุสฺสทคตานิ ได้แก่ ไม่ไพบูลย์.
ชื่อว่า อินทรีย์ คือธรรมอันเป็นอุปนิสสัย พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ในนิทเทสแห่งสัตว์ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า และมีอินทรีย์อ่อน. ก็การประกอบ
คำในคำว่า ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อน ในที่นี้บัณฑิตพึงทราบโดยนัย
ที่กล่าวแล้ว ในนิทเทสแห่งข้อความอันมิได้เป็นไปตามลำดับนั้นแหละ.
ในนิทเทสแห่งอาการชั่ว เป็นต้น ก็เหมือนกัน. คำว่า ปาปาสยา
(แปลว่า อาสยะชั่ว) ได้แก่ อาสยะ คือ อกุศล. คำว่า ปาปจริตา (แปลว่า
มีจริตชั่ว) ได้แก่ บริบูรณ์ด้วยอปุญญาภิสังขาร. คำว่า ปาปาธิมุตฺติกา (แปล
ว่า มีอัธยาศัยชั่ว) ได้แก่ มีอัธยาศัยในวัฏฏะยินดียิ่งในสักกายะ (คืออุปาทาน
ขันธ์ 5).
ในนิทเทสแห่งอาการดี อนุสัย ชื่อว่าเป็นความดี ย่อมไม่มี เหตุ
ใด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า อนุสัยดี ดังนี้ คำที่เหลือ
พึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งภัพพบุคคลและอภัพพบุคคล


พึงทราบวินิจฉัย ในนิทเทสแห่งสัตว์ผู้ควรแก่การตรัสรู้ และ
ไม่ควรแก่การตรัสรู้
ต่อไป คำว่า กมฺมาวรเณน (แปลว่า ด้วยเครื่อง
กั้นคือกรรม) ได้แก่ ด้วยอนันตริยกรรม 5 อย่าง. คำว่า กิเลสาวรเณน
(แปลว่า ด้วยเครื่องกั้น คือกิเลส) ได้แก่ ด้วยนิยตมิจฉาทิฏฐิ. คำว่า
วิปากาวรเณน (แปลว่า ด้วยเครื่องกั้นคือ วิบาก) ได้แก่ ปฏิสนธิด้วย
อเหตุกจิต. ก็เพราะความแทงตลอดอริยมรรค ย่อมไม่มีแก่บุคคลแม้ผู้เป็น
ทุเหตุกบุคคล1 ฉะนั้น พึงทราบว่า แม้ทุเหตุกปฏิสนธิ2 ก็ชื่อว่า เป็นเครื่อง
กั้นคือวิบากเหมือนกัน. คำว่า อสทฺธา (แปลว่า ไม่มีศรัทธา) ได้แก่ เว้น
จากศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นต้น คำว่า อจฺฉนฺทิกา (แปลว่า ไม่มีฉันทะ)
ได้แก่ เว้นจากฉันทะในกุศลของบุคคลผู้ใคร่เพื่อกระทำ. มนุษย์ทั้งหลายชาว-
อุตตรกุรุทวีป เข้าไปสู่ฐานะของผู้ไม่มีฉันทะ. คำว่า ทุปฺปญฺญา (แปลว่า
มีปัญญาทราม) ได้แก่ เป็นผู้เสื่อมจากภวังคปัญญา. ก็เมื่อภวังคปัญญาแม้
บริบูรณ์ ภวังค์ของบุคคลใดย่อมไม่เป็นบาทแก่โลกุตตระ บุคคลนั้น ก็ชื่อว่า
มีปัญญาทรามนั่นแหละ. คำว่า อภพฺพา นิยามํ โอกฺกมิตุํ กุสเลสุ
ธมฺเมสุ สมฺมตฺตํ
(แปลว่า ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรม
ทั้งหลายได้) ได้แก่ ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่มรรค กล่าวคือ สัมมัตตนิยามใน
กุศลธรรมทั้งหลาย. คำว่า น กมฺมาวรเณน เป็นต้น (แปลว่า ไม่ประกอบ
ด้วยเครื่องกั้น คือ กรรม) บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าว
แล้ว. ข้อนี้ บัณฑิตพึงแยกออกเป็นสองญาณ คือ อินทริยปโรปริยัตติญาณ
และอาสยานุสยญาณ. จริงอยู่ ในข้อนี้ แมอินทริยปโรปริยัตติญาณ พระผู้มี-

1. บุคคลผู้เกิดด้วยเหตุสอง คือ อโลภเหตุและอโทสเหตุ.
2. ปฏิสนธิจิตที่ประกอบด้วยเหตุ 2.